วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของป่าชายเลน

ทรัพยากรป่าชายเลน


ป่าชายเลน หรือ ป่าโกงกาง (อังกฤษ: mangrove forest หรือ intertidal forest) คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรืออ่าว อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มี ใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง
ได้มีการค้นพบป่าประเภทรนี้มาตั้งแต่ เมื่อโคลัมบัส (Columbus) เดินทางมาบริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะ
คิวบา ต่อมา Sir Walter Raleigh (1494) ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้อยู่บริเวณปากแม่น้ำในประเทศตรินิแดด (Trinidad) และ กิอานา (Guiana)
คำว่า "mangrove" เป็นคำจาก
ภาษาโปรตุเกสคำว่า "mangue" ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลดินเลน และใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่น ประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "manglier" ส่วนภาษาไทยเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง"
บริเวณที่พบป่าชายเลนโดยทั่วไป คือตามชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว
ทะเลสา และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ ในแถบโซนร้อน (tropical region) ส่วนเขตเหนือหรือใต้โซนร้อน (sub-tropical region) จะพบป่าชายเลนอยู่บ้างแต่ไม่มาก โดยพื้นที่ที่พบป่าชายเลนเช่น ในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และ ไทย เป็นต้น
สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนของโลกทั้งหมดมีประมาณ 113,428,089 ไร่ อยู่ใน เขตร้อน 3 เขตใหญ่ คือ เขตร้อนแถบเอเชียพื้นที่ประมาณ 52,559,339 ไร่ หรือร้อยละ 46.4 ของป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศอินโดนีเซียมีป่าชายเลนมากที่สุด ถึง 26,568,818 ไร่ สำหรับในเขตร้อนอเมริกามีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดประมาณ 39,606,250 ไร่ หรือร้อยละ 34.9 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด ในเขตร้อนอเมริกาประเทศที่มีพื้นที่ โดย
ประเทศบราซิล มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 15,625,000 ไร่ รองจากอินโดนีเซีย ส่วนเขตร้อนอัฟริกามีพื้นที่ ป่าชายเลนน้อยที่สุดประมาณ 21,262,500 ไร่ หรือร้อยละ 18.7 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศไนจีเรีย มีพื้นที่ป่าชายเลน 6,062,500 ไร่ มากที่สุดในโซนนี

ระบบนิเวศป่าชายเลน.

สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของป่าชายเลนมีความแตกต่างออกไปอย่างมากจากป่าชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะดิน เนื่องจากมีสภาพเป็นดินเลนในที่ราบกว้างใหญ่ ดินเหล่านี้มีความอุดมสมบูรณ์สูงจากธาตุอาหารที่ไหลมาจากแหล่งต่างๆ เช่น จากการกันเซาะตามชายฝั่งและแหล่งน้ำลำธาร อีกส่วนหนึ่งมาจากซากพืชซากสัตว์ในบริเวณป่าชายเลนเอง โดยเฉพาะใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมกันเป็นจำนวนมาก แพลงค์ตอนพืชและสาหร่าย ส่วนสภาพความเค็มของน้ำบริเวณนี้มีระดับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีน้ำจืดไหลลงมาปะปนกับน้ำทะเลจึงทำให้น้ำบริเวณนี้เป็นน้ำกร่อย ระดับความเค็มของน้ำดังกล่าวยังเปลี่ยนแปลงไปได้ตามระดับน้ำที่ขึ้นลงเป็นประจำ กล่าวคือ ระดับความเค็มจะสูงขึ้นเมื่อน้ำขึ้น และในขณะที่อยู่ในช่วงน้ำเกิด น้ำทะเลจะสามารถไหลเข้าสู่ป่าชายเลนได้เป็นระยะทางไกลขึ้น ซึ่งเป็นไปในทางกลับกันกับน้ำลงและช่วงน้ำตายตามลำดับลักษณะทางกายภาพดังกล่าวมีผลต่อชุมชนในป่าชายเลนเป็นอย่างมาก โดยมีผลทางตรงต่อชนิดและการกระจายของพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ดังจะเห็นได้จากป่าชายเลนแหล่งต่างๆของโลก พันธุ์ไม้จะขึ้นอยู่ในลักษณะเป็นเขตแนวของแต่ละชนิด โดยมีแบบแผนแน่นอนจากบริเวณฝั่งน้ำเข้าไปด้านในของป่า อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากป่าบกทั่วไป ทั้งนี้เพราะลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ป่าที่มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกันตั้งแต่ชายฝั่งถึงส่วนที่อยู่ลึกเข้าไป พันธุ์ไม้ต่างๆที่มีการปรับตัวมาจนขึ้นอยู่ได้ในเขตนี้ แม้จะปรับตัวมาในลักษณะคล้ายกัน แต่ยังคงมีความแตกต่างกันในบางส่วน ที่ทำให้สามารถเจริญและแพร่กระจายอยู่ได้ในบริเวณต่างกันของป่าชายเลนโดยเฉพาะบริเวณที่มีสภาพเป็นดินเลนลึก มีน้ำท่วมถึงเสมอกับบริเวณที่เป็นดินเลนตื้น และมีน้ำท่วมถึงเป็นบางครั้งบางคราว พันธุ์ไม้ที่จะขึ้นได้ในบริเวณที่เป็นดินเลนลึกจึงต้องมีรากค้ำจุนที่แข็งแรงเป็นจำนวนมาก รากเหล่านี้ช่วยพยุงลำต้นให้ตั้งตรงอยู่ได้ไม่โค่นล้มเมื่อถูกพายุพัดหรือคลื่นซัด ได้แก่ พันธุ์ไม้พวก โกงกาง ต้นอ่อนจึงสามารถเจริญเติบโตตั้งแต้อยู่บนต้นแม่จนกระทั่งพร้อมที่จะงอกรากและเติบโตเป็นต้นกล้าที่แข็งแรงทันทีที่ร่วงหล่นลงสู่พื้นดินสำหรับสัตว์ต่างๆที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนต่างก็ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมที่ต่างไปจากสัตว์ในป่าบกทั่วไปเช่นกัน สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามเรือนยอดของพันธุ์ไม้ต่างๆในป่าชายเลนเป็นพวกที่ไม่จำเป็นต้องมีการปรับตัวโดยเฉพาะ ได้แก่ นก แมลง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดต่างๆ เช่น ลิง หนูค้างคาว เสือปลา นาก และแมวป่า รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวด เต่า และงู เป็นต้น สัตว์พวกนี้อาจมีการอพยพไปมาจากป่าชายเลนสู่ป่าข้างเคียงได้ แต่สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามพื้นป่าโดยอาศัยคืบคลานหรือเกาะหรือขุดรูอยู่ตามพื้นดิน รวมทั้งพวกที่อยู่ในน้ำจะต้องมีการปรับตัวอย่างมากเพื่อการอยู่รอด
เนื่องจากต้องประสบกับสภาวะต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำหรือต้องอยู่ในสภาพไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตโดยทั่วไป เช่น สภาวะที่ทำให้มีการสูญเสียน้ำออกจากลำตัว และสภาพอุณหภูมิสูง สภาพที่มีปริมาณออกซิเจนค่อนข้างต่ำของดินเลน และการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำ สัตว์พวกนี้ได้แก่ หอย ปู กุ้ง หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน ไส้เดือนทะเล และครัสเตเชียน เป็นต้นอย่างไรก็ตามชุมชนในป่าชายเลนจะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆจำนวนมากที่สามารถปรับตัวอยู่ได้และแพร่ลูกแพร่หลานเป็นจำนวนมาก ทำให้ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิดก็ได้อาศัยวางไข่และอนุบาลตัวอ่อนในบริเวณนี้ โดยบางชนิดอาศัยอยู่จนครบวงจรของชีวิตความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนในแง่ของการถ่ายทอดพลังงาน เป็นแบบที่เริ่มต้นด้วยเศษอินทรียสาร (detritus) ซึ่งได้จากการสลายตัวของใบไม้ในบริเวณป่าชายเลนโดยจุลินทรีย์ผู้ย่อยสลาย อินทรียวัตถุเหล่านี้จะเป็นอาหารของพวกกินเศษอินทรียวัตถุ เช่น แอมฟิพอด หอย กุ้ง ปู และตัวอ่อนของแมลงต่างๆ จากพื้นก็จะถูกกินต่อๆกันไปตามลำดับขั้นของลูกโซ่อาหาร
(ที่มา: สนิท อักษรแก้ว,2541)



โครงสร้างของป่าชายเลน ...
ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่ประกอบด้วยพืชพรรณและสัตว์นานาชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย หรือมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอ พบทั่วไปตามที่ราบปากแม่น้ำ ชายฝั่งทะเล ทะเลสาบ และบริเวณรอบเกาะแก่งต่างๆ

หลักการในการจำแนกชนิดของป่าชายเลนในประเทศไทย ซึ่งใช้ลักษณะพื้นที่และการท่วมถึงของน้ำทะเลมี 4 ชนิด คือ
Basin forest เป็นชนิดป่าชายเลนที่ขึ้นติดกับผืนแผ่นดินใหญ่ (main land) ตามลำแม่น้ำเล็กๆ จะได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลน้อยมาก กล่าวคือ น้ำทะเลจะท่วมถึงเฉพาะเวลาที่มีน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (extreme high tide) เท่านั้น และมีอิทธิพลจากน้ำจืดมาก ลักษณะพันธุ์ไม้จะเป็นต้นเตี้ยและพวกเถาวัลย์
Riverine forest เป็นชนิดป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งแม่น้ำใหญ่ๆที่ติดต่อกับอ่าว ทะเล และทะเลสาบ ป่าประเภทนี้ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลอยู่อย่างสม่ำเสมอ คือจะมีกระแสน้ำท่วมอยู่เป็นประจำวัน โดยพันธุ์ไม้จะเจริญเติบโตค่อนข้างสมบูรณ์ดี
Fringe forest เป็นชนิดป่าชายเลนที่ขึ้นตามชายฝั่งทะเลติดกับผืนแผ่นดินใหญ่ หรือบริเวณชายฝั่งที่เป็นเกาะใหญ่ๆ ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลอยู่สม่ำเสมอ คือน้ำทะเลจะท่วมถึงอยู่เป็นประจำวัน พันธุ์ไม้ของป่าจะเจริญเติบโตได้ดี และเป็นป่าที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์
Overwash forest เป็นชนิดป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่บนเกาะเล็กๆ จะถูกน้ำทะเลท่วมทั้งหมดเมื่อระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด การเจริญเติบโตของป่าชนิดนี้ต่ำ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมและน้ำทะเลมาก อีกประการหนึ่งคือ พวกปุ๋ยและธาตุอาหารในป่าชนิดนี้จะถูกชะไปโดยกระแสน้ำออกจากป่าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การเจริญเติบโตของป่าชนิดนี้ไม่ดีและป่าจะมีลักษณะเตี้ย
เอกลักษณ์ของป่าชายเลนที่ทำให้แตกต่างจากป่าบกอย่างชัดเจน คือ การแพร่กระจายของพืชพันธุ์ที่มีลักษณะแบ่งออกเป็นแนวเขต (zonation) โดยพันธุ์ไม้แต่ละชนิดจะขึ้นเป็นแนวเขตหรือเป็นโซน ค่อนข้างแน่นอน แต่การแบ่งเขตของพืชในพื้นที่แต่ละแห่งจะแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพและเคมีภาพของดิน ความเค็มของน้ำ การท่วมถึงของน้ำทะเล กระแลน้ำ การระบายน้ำ และความเปียกชื้นของดิน (ที่มา: สนิท อักษรแก้ว,2541)

เขตของป่าชายเลน...
เขตต่างๆของพันธุ์ไม้ชายเลนในแต่ละแห่งที่พบในประเทศไทยมีความแตกต่างกันบ้าง ซึ่งมีเขตของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนโดยสังเขป มีลำดับดังนี้
1. เขตป่าโกงกาง
ประกอบด้วย โกงกางใบเล็ก (Rhizophoro apiculata) ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีต้น โกงกางใบใหญ่ (R.mucronata) ขึ้นอยู่ทางด้านนอกริมฝั่งแม่น้ำ โดยมากมักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ส่วน แสม นั้นมักขึ้นแซมตามชาย
ป่าด้านนอกหรือถัดเข้าไปเพียงเล็กน้อย ซึ่งมองเห็นได้ชัดเพราะมีต้นสูงใหญ่กว่าโกงกางนอกจากนี้ยังมี ประสัก และ พังกาหัวสุม ขึ้นแทรกอยู่ทางด้านในของเขตนี้ ซึ่งอยู่ในระยะประมาณ 50-100 เมตร จากชายฝั่งและในบางแห่งพบต้น จาก (Nypa)ขึ้นอยู่เป็นหย่อม ๆ ปะปนด้วย โดยเฉพาะในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย
2. เขตป่าตะบูนและโปรง
ประกอบด้วย ตะบูน (Xylocarpus) ขึ้นต่อจากเขตต้น โปรง เข้าไป และมีต้นฝาดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น บางบริเวณอาจมี ลำแพน แทรกอยู่ด้วย
3. เขตป่าตาตุ่ม และฝาด
เป็นบริเวณที่มีดินเลนแข็งขึ้นอยู่ในระดับที่น้ำจะท่วมถึงในช่วงน้ำเกิด อยู่ถัดจากป่าตะบูนและโปรงขึ้นไป โดยมีต้น ฝาด ขึ้นอยู่หนาแน่นปะปนกับต้น ตาตุ่ม โดยบางแห่งจะมีต้น ลำแพน ขึ้นแทรกอยู่ด้วย
4. เขตป่าเสม็ด
ประกอบด้วย เสม็ด ขึ้นอยู่หนาแน่น เป็นเขตสุดท้ายของป่าชายเลนที่น้ำท่วมถึงในช่วงน้ำเกิดหรือท่วมไม่ถึง ติดต่อกับป่าบกหรือทุ่งนา


ปัญหาที่เกิดจากการทำลายป่าชายเลน
ปัจจุบัน ป่าชายเลนของประเทศไทยซึ่งจะขึ้นอยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเลที่เป็นโคลนตมและบริเวณที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำลำธารในบริเวณชายฝั่งของอ่าวไทย และชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกและตะวันตกของภาคใต้ นับแต่จะลดพื้นที่ลง เนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์ป่าชายเลนจนทำให้เกิคความเสื่อมโทรมทำลายป่าชายเลน ซึ่งพอจะจำแนกได้ดังนี้
1 การป่าไม้ หมายถึง การทำไม้สัมปทานตามวิธีที่รัฐกำหนด การทำป่าไม้ในเขตสัมปทาน
2. การเพาะเลั้ยงสัตว์น้ำ หมายถึง เฉพาะการทำบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และสถานีเพาะพันธุ์ในพื้นที่ป่าชายเลน และจะมีการตัดฟันไม้ชายเลนบริเวณพื้นที่โครงการ
3. การเกษตรกรรมในพื้นที่ป่าชายเลน
4.การทำเหมืองแร่ในที่ป่าชายเลน
5.การขยายตัวของชุมชน
6.การก่อสร้างท่าเทียบเรือทุกขนาด การก่อสร้างอู่ต่อเรือและสะพานปลา
7. การก่อสร้างถนน รวมทั้งสายส่งไฟฟ้า
8.การก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม
9. การขุดร่องน้ำ
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ป่าชายเลน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน ได้ก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดังนี้เ
1.ผลกระทบทางกายภาพ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศป่าชายเลย คือ อุณหภูมิ ปริมาณธาตุอาหาร ความเค็ม สภาพทางอุทกวิทยา การตกตะกอน ปริมาณมลพิษในน้ำ เป็นต้น
2.ผลกระทบทางชีววิทยา ได้แก่ การลดปริมาณพันธุ์ไม้ส่วนรวม การลดการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ การลดปริมาณหรือการสูญเสียพันธุ์ไม้ที่มีค่า หรือหายาก การสะสมสารพิษในห่วงโซ่อาหาร การเกิดโรดระบาด การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยธรรมชาติ







การอนุรักษ์ป่าชายเลน
1.การใช้ประโยชน์อย่างยาวนาน ปัจจุบันพื้นที่ป่าชายเลนได้ถูกทำลายลงอย่างมาก โดยเฉพาะจากการตัดถนน การทำนากุ้ง ดังนั้นจึงควรมีมาตรการที่เหมาะสม ในการใช้ประโยชน์ป่าชายเลน
2. การปลูกป่า ควรมีการพื้นฟูป่าชายเลนที่เสื่อมสภาพ การปลูกสร้างป่าชายเลนขึ้นใหม่ในบริเวณที่สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย
3.การใช้ป่าชายเลนอย่างผสมผสาน ในกรณีที่มีความต้องการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ และใช้ให้คุ้มค่าในทรัพยากรที่มีอยู่ในบริเวณนั้นหลายๆ อย่างผสมผสานกันไป


ประโยชน์ของป่าชายเลน
ป่าชายเลน ที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของโลก โดยธรรมชาติ เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่รวมของพืชและสัตว์นานาชนิด แต่คนส่วนใหญ่ ยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญ และไม่สนใจกันอย่างจริงจังมานานแล้ว ในระยะ หลัง ป่าชายเลน ได้ถูกบุกรุกเพื่อประโยชน์ ใช้สอยกันมากขึ้น ทำให้เสีย สมดุลย์ทางระบบนิเวศ เช่น การเข้าไปทำ นากุ้ง บุกรุกเข้าไปอยู่อาศัย บางแห่งถูกทำลาย จนหมดสภาพป่า สัตว์น้ำเศรษกิจ ลดน้อยลงทุกที จึงควรหันมาสนใจ และเข้าใจถึงความ สำคัญ ของป่าชายเลนให้มากขึ้น เพื่อช่วยปกป้องและ ดำรงไว้ให้มาก ที่สุด และร่วมกันฟื้นฟูส่วนที่เสื่อม โทรม ให้กลับมาดังเดิม

สรุปการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน
-มีความสำคัญในการเป็นแหล่งพลังงานและอาหาร
-เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ

-เพื่อเป็นเครื่องป้องกันแนวชายฝั่งทะเล
-เพื่อควบคุมการกัดเซาะพังทลาย
-เพื่อซับน้ำเสีย
-เป็นแนวกำบังกระแสน้ำเชี่ยวที่ปากแม่น้ำและพายุหมุน
-ผลิตภัณฑ์จากไม้
-เชื้อเพลิง
-วัสดุก่อสร้าง
-สิ่งทอและหนังสัตว์
-อาหาร ยา และเครื่องดื่ม
-การผลิตกรดจากเปลือกไม้ (tannin)
-การทำเหมือนแร่ดีบุกในบริเวณป่าชายแดน
-ให้ผลผลิตน้ำเย็นในระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหก

-ห้ผลผลิตเกลือ
-ให้ผลผลิตมวลชีวภาพ (biomass) แก่แหล่งประมง
(ก) แหล่งประมงใกล้ชายฝั่ง
(ข) เป็นแหล่งพักอาศัยของลูกปลาและลูกกุ้ง
-ให้ผลผลิตมวลชีวภาพสำหรับการเลี้ยงหอยแมลงภู่และปลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น